หลักสูตรของภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์
หลักสูตรระดับปริญญาตรี
- วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์
(นักศึกษารหัส 60 ขึ้นไป ใช้หลักสูตรปรับปรุง ปี พ.ศ. 2560 / นักศึกษารหัส 55-59 ใช้หลักสูตรปรับปรุง ปี พ.ศ. 2554 / นักศึกษารหัส 52-54 ใช้หลักสูตรปรับปรุง ปี พ.ศ. 2552 / นักศึกษารหัส 51 ลงมา ใช้หลักสูตรปรับปรุง ปี พ.ศ. 2546)
- หลัก สูตรปรับปรุง พ.ศ. 2560 (สำหรับ นศ. รหัส 60 ขึ้นไป)
หลักสูตรเก่า
- หลัก สูตรปรับปรุง พ.ศ. 2554 (สำหรับ นศ. รหัส 55-59)
- หลัก สูตรปรับปรุง พ.ศ. 2552 (สำหรับ นศ. รหัส 52-54)
- หมวดวิชาศึกษาทั่วไป ฉบับ พ.ศ. 2552
- หลัก สูตรปรับปรุง พ.ศ. 2546 (สำหรับ นศ. รหัส 46-51)
หลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา
- วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์
แนะนำหลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์
เป็นหลักสูตรที่เน้นการเรียนการสอนทั้งทางด้านทฤษฎี และปฎิบัติอย่างจริงจัง มุ่งเน้นให้ผู้เรียนมีความรู้พื้นฐาน และประสบการณ์ ในการทำงาน โดยจะแนะนำผู้สนใจเกี่ยวกับการเรียนการสอนในบางรายวิชาของหลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ เริ่มตั้งแต่ชั้นปีที่ 1 ถึง 3 ดังนี้
ชั้นปีที่ # 1
- วิชา Computer & Programming ศึกษาเกี่ยวกับการเขียนโปรแกรมเบื้องต้น และวิธีการแก้ปัญหาพื้นฐาน โดยจะมีสิ่งที่น่าสนใจเสริมจากการเรียน คือ การเขียนโปรแกรมเพื่อควบคุมการทำงานของหุ่นยนต์ในเครื่องคอมพิวเตอร์ โดยใช้โปรแกรม C-Robot
ชั้นปีที่ # 2
- วิชา Digital Circuit and Logic Design ศึกษาเกี่ยวกับการนำเรื่องตรรกศาสตร์มาประยุกต์ใช้ในวงจรดิจิทัลในรูปแบบ ต่างๆ ทั้งยังมีการทดลองบน Logic Trainer และบน FPGA Board สำหรับวงจรที่ซับซ้อนขึ้น
- วิชา Basic Electronics for Computer Engineering ศึกษา เกี่ยวกับวงจรไฟฟ้าทั้งดิจิทัล แอนะล็อก และวงจรอิเล็กทรอนิกส์พื้นฐาน จนถึงวงจรตรวจจับต่างๆ ซึ่งสามารถนำมาประยุกต์ร่วมกันเพื่อสร้างหุ่นยนต์อย่างง่ายๆ ได้
- วิชา Computer Organization and Assembly Language ศึกษา เกี่ยวกับโครงสร้างของไมโครคอมพิวเตอร์ และการเขียนโปรแกรมควบคุมภายในด้วยภาษาแอสเซมบลี ซึ่งเป็นโปรแกรมภาษาพื้นฐาน ที่ใช้งานโดยเฉพาะการติดต่อกับอุปกรณ์ต่างๆ โดยตรง
ชั้นปีที่ # 3
- วิชา Micro Robot Development ศึกษา เกี่ยวกับการทำงานของหุ่นยนต์ การเขียนโปรแกรมเพื่อให้หุ่นยนต์แก้ไขปัญหาต่างๆ เช่น การเดินตามเส้น การเดินหาเส้นทางในเขาวงกต การสร้างหุ่นเก็บไข่ เป็นต้น
- วิชา Microprocessor and Interfacing ศึกษาเกี่ยวกับโครงสร้างของไมโครโพรเซสเซอร์ และการเขียนโปรแกรมควมคุมการทำงานผ่านอุปกรณ์อื่นๆ
- วิชา Java Programming ศึกษาเกี่ยวการเขียนโปรแกรมด้วยภาษาจาวา โดยสามารถติดต่อระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ได้
- วิชา System Software Development ศึกษาเกี่ยวกับการเขียนโปรแกรมบนระบบปฏิบัติการวินโดว์ การใช้งาน MFC
- วิชา Introduction to Local and Wide Area Networks ศึกษา เกี่ยวกับการทำงานของอุปกรณ์ในระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ โดยเน้นทักษะการตั้งค่าการทำงานของอุปกรณ์เครือข่าย โดยในการเรียนการสอนจะใช้อุปกรณ์จริงให้นักศึกษาฝึกทักษะ และมีโปรแกรมจำลองการทำงานเพื่อความเข้าใจ
กิจกรรม เสริมต่างๆ (ตามความสมัครใจ)
นอกจากการเรียนการสอนทางวิชาการแล้ว ยังมีกิจรรมต่างๆ ให้นักศึกษาช่วยกันฝึกการทำงานร่วมกัน การแก้ปัญหาต่างๆ ในการทำงาน อาทิเช่น
- โครงการค่ายฝึก อบรมเชิงปฎิบัติการ CE Smart Camp ที่รับน้องชั้น ม.4 และ ม.5 เข้ามาเรียนรู้หาประสบการณ์ ในระดับอุดมศึกษา และร่วมกิจกรรมสนุกๆ กับพี่ๆ
- โครงการ CE Smart Career เป็นการดำเนินการของสาขาวิชา และ นศ. ปี 2 และ 3 ที่ติดต่อขอความร่วมมือกับองค์กร บริษัท และหน่วยงานต่างๆ มาประชาสัมพันธ์หน่วยงาน ทั้งยังเปิดรับสมัครงานสำหรับพี่ๆ ว่าที่บัณฑิต
- งานทำบุญสาขาวิชา เป็นงานที่สร้างความสัมพันธ์ระหว่างพี่น้อง อาจารย์ ทั้งยังส่งเสริมวัฒนธรรมไทย ช่วยฝึก นศ. ในการเตรียมงาน การติดต่อส่วนต่างๆ ในการทำงานบุญ
- งานแสดงความยินดีพี่ๆ ว่าที่บัณฑิต เป็นงานที่น่ายินดีที่สุดที่น้องๆ ทุกคนตั้งใจดำเนินการ และพี่ๆ ทุกคนยินดีกับงานนี้
|